วันอาทิตย์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

วัดวังวิเวกการามณ์ สังขละ กาญจนบุรี

“หลวงพ่ออุตตมะ”


ประวัติหลวงพ่ออุตตมะ
      หลวงพ่ออุตตมะเกิดเมื่อวันอาทิตย์ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 4 ปีจอ จุลศักราช 1272 (พ.ศ. 2453) ที่หมู่บ้านโมกกะเนียง ตำบลเกลาสะ อำเภอเย จังหวัดมะละแหม่ง เป็นบุตรของนายโงและนางทองสุข อาชีพทำนา มีพี่น้องรวม 12 คน เนื่องจากเป็นทารกเพศชายเกิดในวันอาทิตย์จึงมีชื่อว่า “เอหม่อง” 

       ปี พ.ศ. 2462 ขณะเด็กชายเอหม่องมีอายุได้ 9 ขวบ เกิดอหิวาตกโรคระบาดขึ้นในหมู่บ้าน บิดามารดาจึงพาเด็กชายเอหม่องไปฝากกับพระอาจารย์นันสาโรแห่งวัดโมกกะเนียงผู้เป็นลุงเพื่อให้ปรนนิบัติรับใช้และศึกษาพระธรรมเป็นเครื่องคุ้มครองจากโรคภัย เด็กชายเอหม่องเป็นผู้ใฝ่ใจในการศึกษาอย่างยิ่ง จนสามารถสอบได้ชนะเด็กในวัยเดียวกันเป็นประจำทุก ๆ ปี 

      ปี พ.ศ. 2467 เด็กชายเอหม่องอายุได้ 14 ปี เกิดอหิวาตกโรคระบาดครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง ส่งผลให้ต้องสูญเสียน้องชายถึง 5 คน เด็กชายเอหม่องจึงขอออกจากวัดโนกกะเนียงเพื่อมาช่วยเหลือทางบ้านด้วยความขยันขันแข็ง จนกระทั่งอายุ 18 ปี เจ้าอาวาสวัดเกลาสะได้ไปขอกับบิดามารดาให้เด็กชายเอหม่องไปบรรพชาเป็นสามเณร 

      หลวงพ่ออุตตมะบรรพาเป็นสามเณร ณ วัดเกลาสะ ตำบลเกลาสะ อำเภอเย จังหวัดมะละแหม่ง เมื่อจุลศักราช 1291 (พ.ศ. 2472) โดยมีพระเกตุมาลาเป็นพระอุปัชฌาย์ ปีนั้นเองหลวงพ่อศึกษาภาษาบาลี และพระปริยัติธรรมจนสอบได้นักธรรมตรี อีกปีหนึ่งต่อมาสอบได้นักธรรมโท แต่ไม่นานหลวงพ่อก็ตัดสินใจสึกออกมาเพราะเห็นว่าไม่มีใครช่วยบิดามารดาทำนา 

      จนกระทั่งหม่องเอ ซึ่งเป็นลูกของพี่สาวของบิดา ได้มาอาศัยอยู่ด้วย หลังจากที่บิดามารดาของหม่องเอเสียชีวิตจนหมดสิ้น ซึ่งเท่ากับว่ามีคนมาช่วยแบ่งเบาภาระในการทำนา และมีญาติซึ่งไว้วางใจได้มาคอยดูแลบิดามารดา หลวงพ่ออุตตมะจึงตัดสินใจอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดเกลาสะ โดยมีพระเกตุมาลา วัดเกลาสะ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระนันทสาโร วัดโมกกะเนียง เป็นพระกรรมวาจารย์ พระวิสารทะ วัดเจ้าคะเล เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2476 ได้รับฉายาว่า “อุตตมรัมโภ” แปลว่า ผู้มีความพากเพียรอันสูงสุด” โดยหลวงพ่ออุตตมะได้ตั้งเจตจำนงที่จะบวชไม่สึกจนตลอดชีวิต 

      ด้วยความพากเพียรและใฝ่ใจในการศึกษาพระธรรม ในปี พ.ศ. 2474 หลวงพ่ออุตตมะสามารถสอบได้ นักธรรมชั้นเอก ณ สำนักเรียนวัดปราสาททอง อำเภอเย จังหวัดมะละแหม่ง ต่อมาในปี พ.ศ. 2484 สอบได้เปรียญธรรม 8 ประโยค ที่สำนักเรียนวัดสุขการี อำเภอสะเทิม จังหวัดสะเทิม ซึ่งเป็นชั้นสูงสุดของคณะสงฆ์ในประเทศพม่า ขณะนั้นบ้านเมืองกำลังเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 หลวงพ่อจึงเดินทางกลับวัดเกลาสะ และได้รับมอบหมายให้เป็นอาจารย์สอนภาษาบาลีแก่ภิกษุสามเณร 

      ต่อมาท่านก็ลาพระอุปัชฌาย์เดินทางไปศึกษาวิปัสนากรรมฐานที่วัดตองจอย จังหวัดมะละแหม่ง และวัดป่าเลไลย์ จังหวัดมัณฑะเลย์ จนมีความรู้ความสามารถในเรื่องวิปัสนากรรมฐานตลอดจนวิชาไสยศาสตร์และพุทธคมเป็นอย่างดี ปี พ.ศ. 2486 หลวงพ่อจึงเริ่มออกธุดงค์เพื่อหาประสบการณ์ 

    หลวงพ่ออุตตมะออกธุดงค์ไปตามที่ต่าง ๆ ในประเทศพม่า และเข้ามาประเทศไทยครั้งแรกทางจังหวัดเชียงใหม่ ต่อมาทราบข่าวว่าพระเกตุมาลา พระอุปัชฌาย์กำลังอาพาธ จึงรีบเดินทางกลับพม่า จนกระทั่งพระเกตุมาลามรณภาพ ท่านก็ได้เดินทางเข้ามาประเทศไทยอีกครั้งหนึ่ง โดยครั้งนี้ หลวงพ่อเดินทางเข้ามาทางตำบลปิล็อก อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ประมาณปี พ.ศ. 2492 

    และใน ปี พ.ศ. 2492 อันเป็นพรรษาที่ 16 ของพระมหาอุตตมะรัมโภ พายุไต้ฝุ่นพัดจากทะเลอันดามัน สร้างความเสียหายให้กับชาวบ้านอย่างใหญ่หลวง โดยเฉพาะบ้านโมกกะเนียง และเกลาสะ มีผู้เสียชีวิตมากกว่าร้อยคน บ้านเรือนเหลือเพียงไม่กี่หลังคาเรือน ชาวบ้านลำบากยากแค้นแสนสาหัส ข้าวของอาหารการกินขาดแคลนกันทั่วหน้า 

 
       นอกจากภัยธรรมชาติแล้ว ชาวบ้านยังต้องประสบเคราะห์กรรมจากปัญาความขัดแย้งในทางการเมืองอีกด้วย เนื่องจากการปะทะและต่อสู้ระหว่าง กองทหารของรัฐบาลพม่า กับกองกำลังติดอาวุธกู้ชาติ อีกทั้งกองกำลังกู้ชาติบางกลุ่มแปรตัวเองไปเป็นโจรปล้นสดมภ์ชาวบ้าน 
    ด้วยความเบื่อหน่ายเรื่องการรบราฆ่าฟันกัน ระหว่างชนเผ่า หลวงพ่ออุตตมะจึงตัดสินใจจากบ้านเกิด มุ่งหน้าสู่ดินแดนประเทศไทย เป้าหมายที่แท้จริงของท่านในเวลานั้น คือเขาพระวิหาร ปรากฏว่าเมื่อชาวบ้านรู้ข่าวต่างเสียใจ ไม่อยากให้ท่านจากไปพากันร้องไห้ระงมด้วยความอาลัย ซึ่งท่านได้ชี้แจงการออกเดินทางของท่านว่า “การไปของเราจะเป็นปรหิต เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น”     

         
 อยู่เลยจากตัวอำเภอสังขละบุรีไปประมาณ 6 กิโลเมตร เป็นวัดจำพรรษาของ “หลวงพ่ออุตตมะ” ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของประชาชนชาวไทย ชาวมอญ รวมทั้งชาวกระเหรี่ยงและพม่าที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้น ภายในวิหารที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำประดิษฐานพระพุทธรูปหินอ่อนอันงดงามชาวบ้านเรียกกันว่า หลวงพ่อขาว จากวัดวังก์วิเวการามแยกไปอีก 1 กิโลเมตร จะเป็นที่ตั้งของเจดีย์แบบพุทธคยามีลักษณะฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสบรรจุพระบรมสารีริกธาตุส่วนที่เป็นกระดูกนิ้วหัวแม่มือขวาขนาดเท่าเมล็ดข้าวสาร บริเวณใกล้เจดีย์มีร้านจำหน่ายสินค้าจากพม่าหลายร้านจำพวกผ้า แป้งพม่า เครื่องไม้
                   
             ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี มีการจัดงานคล้ายวันเกิดหลวงพ่ออุตตมะ ในงานมีกิจกรรมต่างๆ ประกอบด้วยพิธีกรรมทางศาสนา การแข่งขันชกมวยคาดเชือก การแสดงของชมรมวัฒนธรรมท้องถิ่นเช่น การรำแบบมอญ การรำตงของชาวกะเหรี่ยง และในงานประชาชนจะพร้อมใจกันแต่งกายตามแบบวัฒนธรรมของชาวไทยรามัญและจัดเตรียมสำรับอาหารทูนบนศีรษะไปถวายพระสงฆ์ที่วัด

อาหารทูนบนศีรษะไปถวายพระสงฆ์ที่วัด
กำเนิดวัดหลวงพ่ออุตตมะ

ในปี พ.ศ. 2499 หลวงพ่ออุตตมะ ร่วมกับชาวบ้านที่เป็นชาวกะเหรี่ยงและชาวมอญได้พร้อมใจกันสร้างศาลาวัดขึ้น และสร้างเสร็จในเดือน 6 ของปีนั้นเอง แต่เนื่องจากยังมิได้มีการขออนุญาตจากกรมการศาสนา วัดที่สร้างเสร็จจึงมีฐานะเป็นสำนักสงฆ์ แต่ชาวบ้านโดยทั่วไปเรียกว่า “วัดหลวงพ่ออุตตมะ” ตั้งอยู่บนเนินสูงในบริเวณที่เรียกว่า “สามประสบ” เพราะมีแม่น้ำ 3 สายไหลมาบรรจบกัน คือแม่น้ำซองกาเลีย แม่น้ำบีคลี่ และแม่น้ำรันตี 

ในปี พ.ศ. 2505 เมื่อได้รับอนุญาตจากกรมการศาสนาเป็นที่เรียบร้อย หลวงพ่ออุตตมะจึงได้ตั้งชื่อสำนักสงฆ์ตามชื่ออำเภอเก่า (อำเภอวังกะ) ว่า “วัดวังก์วิเวการาม” 

ในปี พ.ศ. 2513 หลวงพ่อเริ่มสร้างพระอุโบสถวัดวังก์วิเวการามโดยปั้นอิฐเอง 

ในปี พ.ศ. 2518 หลวงพ่อได้เริ่มสร้างเจดีย์จำลองแบบจากเจดีย์พุทธคยาที่ประเทศอินเดีย และสร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2529 

พระอุโบสถกลางน้ำ(หลังเก่า)
พระอุโบสถกลางน้ำ(หลังเก่า)
เจดีย์พุทธคยา

เที่ยวพระเจดีย์สามองค์ กาญจนบุรี

พระเจดีย์สามองค์

 

              มีเนื้อที่ 343,750 ไร่ ประกาศเป็นเขตอุทยานฯ เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2518 มีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ คือ

เขตสิ้นสุดชายแดนไทยด้านทิศตะวันตก ตั้งอยู่ที่ตำบลหนองลู ไปตามทางหลวงหมายเลข 323 โดยก่อนถึงตัวอำเภอสังขละบุรี 4 กิโลเมตร จะมีทางแยกด้านขวาไปด่านเจดีย์สามองค์ เป็นระยะทางประมาณ 18 กิโลเมตร เส้นทางลาดยางตลอดสาย พระเจดีย์สามองค์นี้เดิมเรียกว่า หินสามกอง เป็นที่สักการะของคนไทยโดยทั่วไปก่อนเดินทางออกจากเขตแดนไทยเข้าสู่เขตแดนพม่า ต่อมาในปี พ.ศ. 2472 พระศรีสุวรรณคีรี เจ้าเมืองสังขละบุรีได้เป็นผู้นำชาวบ้านก่อสร้างเจดีย์ขนาดเล็กสามองค์ดังที่เห็นในปัจจุบัน นอกจากนี้ด่านเจดีย์สามองค์ยังเป็นช่องทางเดินทัพที่สำคัญของไทยและพม่าในอดีต บริเวณด่านเจดีย์สามองค์ มีร้านขายสินค้าจากประเทศพม่า นักท่องเที่ยวสามารถข้ามชายแดนเข้าไปชมตลาดพญาตองซู ซึ่งเป็นตลาดชายแดนที่มีการจำหน่ายสินค้าของพม่า โดยนักท่องเที่ยวจะต้องเสียค่าผ่านด่าน (ฝั่งประเทศพม่า) ชาวไทย 25 บาท ชาวต่างประเทศ 10 เหรียญสหรัฐ รถยนต์ คันละ 50 บาท ตั้งแต่เวลา 06.00-18.00 น. สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ด่านตรวจคนเข้ามืองสังขละบุรี โทร. 0 3459 0105, 0 3459 5335




           สถานที่แห่งนี้มีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวกันเยอะมากเลยค่ะ ทั้งชาวไทย แล้วชาวต่่างชาติค่ะ

สะพานมอญ ไทย - มอญ




สะพานมอญ



              สะพานมอญ ซึ่งเป็นสะพานไม้ที่ยาวที่สุดในประเทศไทยมีความยาว 850 เมตร และเป็นสะพานไม้ที่ยาวเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากสะพานไม้อูเบ็งในประเทศพม่า เป็นสะพานที่ข้ามแม่น้ำซองกาเรีย ต.หนองลู อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี ถูกกระแสน้ำพัดพังเมื่อปีที่แล้ว หลังจากนั้นทหารและประชาชนในพื้นที่ช่วยกันซ่อมแซมสะพานจนเสร็จสมบูรณ์และเปิดใช้ได้อีกครั้งในวันนี้



            ประชาชนในพื้นที่และนักท่องเที่ยวนับพันคนเดินทางมาเที่ยวที่สะพานมอญ เพราะช่วงนี้บรรยากาศที่นี้กำลังดี หนาว เต็มไปด้วยหมอกสีขาว สวยมาก

บรรยากาศในช่วงตะวันจะตกดิน

สะพานมอญในช่วงตะวันกำลังจะตกดิน
         บรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคักเต็มไปด้วยชาวบ้านในพื้นที่และนักท่องเที่ยว ถ้าเกิดใครที่ยังไม่ได้ไปสัมผัสบรรยากาศแบบนี้ แนะนำเลยนะค่ะ ช่วงนี้อากาศกำลังดีมากเลยค่ะ


สะพานลูกบวบ

วันจันทร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

   "วันนพฤกษศาสตร์และวันข้าวใหม่หอมมะลิ"   






    จังหวัดสุรินทร์ โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ ได้จัดงานวันพฤกษศาสตร์และวันข้าวใหม่หอมมะลิ  ตั้งแต่วันที่ 26 ตุลาคม จนถึงวันที่ 2 พฤศจิกายน นี้ ณ บริเวณสวนเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯเฉลิมพระชนม์ 80 พรรษา เพื่อส่งเสริมเอกลักษณ์และเพิ่มมูลค่าผลผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์สุรินทร์ ให้เป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลาย สร้างรายได้ สร้างอาชีพให้แก่ประชาชนชาวสุรินทร์

    นอกจากนี้  ยังส่งเสริมให้ประชาชนหันมาสนใจดูแลอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น จึงได้จัดงานวันพฤกษศาสตร์และวันข้าวใหม่หอมมะลิขึ้นเป็นครั้งแรกในปีนี้ ด้วยการนำไม้ดอก ไม้ประดับนานาชนิด มาจัดแสดงให้ผู้ร่วมงานได้ชม ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ในการปลูกไม้ผล ไม้ดอก ไม้ประดับ เป็นอาชีพเสริมหรืออาชีพหลัก และเป็นการเพิ่มช่องทางการตลาดของผู้ผลิต ผู้ค้าพันธุ์ไม้ให้กับประชาชนผู้สนใจด้วย โดยได้เปิดให้เข้าเที่ยวชมงานได้ฟรี

    ซึ่งภายในงานนั้นก็จะมีสินค้า (O TOP) มากมายให้เราได้เลือกชมภายในงานที่มาจากแหล่งต่างๆของคนในจังหวัดสุรินทร์ที่ได้นำเอาสินค้ามาให้เราเลือกซื้อเลือกชมได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นโลชั่นที่ทำจากรังไหมซึ่งขายขวดละ 200 บาท ส่วนผสมมีกาวไหม หัวโลชั่น น้ำผึ่ง น้ำหอม
โลชั่นโปรตีนไหม
  อีกทั้งภายในงานไม่ได้มีเพียงแค่สินค้า (OTOP) เท่านั้นแต่ยังมีสิ่งสวยๆงามๆให้เราได้ชื่นชมอีกด้วยนั้นก็คือการจัดสวนดอกไหมต่างๆ และผู้ใดที่ชื่นชอบดอกกล้วยไม้ก็สามารถที่จะมาชมความงามของการจัดสวนกล้วยไม้ที่งดงามได้เลยค่ะ