วันจันทร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2557

ประเพณีแซนโฏนตา บูชาบรรพบุรุษ จังหวัดสุรินทร์

         
ประเพณีแซนโดนตา บูชาบรรพบุรุษ

                 จังหวัดสุรินทร์ขอเชิญร่วมงาน ประเพณีแซนโฎนตาบูชาบรรพบุรุษประจำปี 2557 ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 19 กันยายน 2557 ตั้งแต่เวลา 13.00 น. ณ บริเวณอนุสาวรีย์พระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง อ.เมือง จ.สุรินทร์ 

ประเพณีแซนโดนตา บูชาบรรพบุรุษ
ความเป็นมาและความสำคัญ

            เป็นงานประเพณีที่สำคัญของชาวจังหวัดสุรินทร์ โดยจะมีการถือปฏิบัติขึ้นทุกปี เป็นการแสดงถึงความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว และเป็นการแสดงออกถึงความรัก ความเอื้ออาทรต่อบุพการีผู้มีพระคุณ โดยถือกำหนดจัดขึ้นในแรม 14 เดือน 10 โดยชาวสุรินทร์เมื่อถึงวันจะพร้อมใจกันหยุดภาระกิจการงานและจะร่วมกันเซ่นไหว้ขึ้นที่บ้านแต่ละบ้าน โดยยึดบ้านที่อาวุโสที่สุดของครอบครัว
            พิธีแซนโฎนตา เซ่นไหว้บูชาบรรพบุรุษ ประกอบด้วยพิธีการทางศาสนา กราบพระ การบูชาพระรัตนตรัย จากนั้นเป็นการรำเซ่นไหว้ บูชาบรรพบุรุษ และพิธีแซนโฎนตา เซ่นไหว้ บรรพบุรุษ โดยชาวจังหวัดสุรินทร์ ที่นำเครื่องเซ่นไหว้ มาร่วมพิธี ก็จะจุด เทียน ธูป เซ่นไหว้ บรรพบุรุษ ด้วยการเทเหล้า น้ำหวาน น้ำดื่ม พร้อมเรียก ดวงวิญญาณ ของบรรพบุรุษ มารับอาหารที่ลูกหลาน ได้นำมาเซ่นไหว้ จากนั้นพระสงฆ์ ได้สวดมาติกา บังสุกุล เป็นอุทิศส่วนกุศล ให้ผู้ล่วงลับไปแล้ว ต่อจากนั้น พระสงฆ์ได้ให้พร แก่ญาติโยมที่มาร่วมพิธีแซนโฎนตา เซ่นไหว้บรรพบุรุษ เป็นอันเสร็จพิธี
      ชาวสุรินทร์เชื้อสายเขมร เชื่อว่า การประกอบประเพณีแซนโฎนตา เป็นการที่ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผีบรรพบุรุษ ปู่ย่า ตายาย พ่อแม่ ให้ได้รับผลบุญกุศลที่อุทิศไป เชื่อว่าทำให้ทุกข์เวทนาจากบวงกรรมมีความบรรเทาเบาบางลง จึงให้มีการจัดพิธีแซนโฎนตา ขึ้นและให้มีการสืบทอดต่อๆกันมา ลูกหลานต้องปฏิบัติสืบทอดต่อ ๆ กันมาถึงทุกวันนี้ ถ้าญาติหรือลูกหลานประกอบพิธีแซนโฎนตา และทำบุญอุทิศให้ เชื่อว่าญาติที่ล่วงลับไปแล้ว ก็จะอวยพรให้ญาติหรือลูกหลานมีความสุขความเจริญประกอบอาชีพประสบผลสำเร็จมี เงินมีทองใช้ แต่ถ้าไม่ทำพิธีแซนโฎนตา ญาติที่ล่วงลับไป ก็จะโกรธและสาปแช่งญาติหรือลูกหลานไม่ให้มีความสุขความเจริญประกอบอาชีพฝืด เคือง ไม่ราบรื่น ดังนั้นลูกหลานของชาวไทยเชื้อสายเขมรทุกรุ่นจึงต้องประกอบพิธีแซนโฎนตามา ทุกปีจนถึงปัจจุบันนี้

                                                    กิจกรรมภายในงานแซนโฏนตา

ขบวนแห่ของแต่ละหมู่บ้าน
เข้าร่วมเดินขบวนงานแซนโฏนตา

ขบวนแห่ของแต่ละหมู่บ้าน
ขบวนแห่ของแต่ละหมู่บ้าน
ขบวนแห่ของแต่ละหมู่บ้าน
พิธีรำเปิดงานแซนโฏนตา

พิธีรำเปิดงานแซนโฏนตา
เครื่องเซ่นไหว้โฏนตา
เครื่องเซ่นไหว้โฏนตา

ทำพีธีเซ่นไหว้บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว
ทั้งนี้เพื่อเป็นการอนุรักษ์และร่วมสืบสานวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของท้องถิ่น กระตุ้นเตือนให้ประชาชนได้เห็นความสำคัญของประเพณีแซนโฎนตา โดยจะเป็นการปลูกฝังให้ประชาชนและเยาวชนแสดงความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณและบรรพบุรุษ โดยในเวลา 13.00 น. จะมีการประกวดขบวนแห่แซนโฎนตาจากชุมชน คุ้มวัด และโรงเรียนต่างๆ ในจังหวัดสุรินทร์ ที่สื่อให้เห็นถึงเอกลักษณ์อันดีงามและประวัติความเป็นมาของประเพณีแซนโฎนตา โดยจะมีการประกวดขบวนแห่ที่มีความสวยงาม และกิจกรรมการจูนโฎนตา ที่นำเครื่องจูนจากขบวนแห่ของแต่ละชุมชน คุ้มวัด และโรงเรียน มาจูนต่อผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์และผู้อาวุโสของจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งจะมีริ้วขบวนต่างๆในเขตเทศบาลทั้ง 30 ชุมชน และ อบต. ใกล้เคียงต่างๆก็จะจัดริ้วขบวนมาร่วมด้วยอย่างยิ่งใหญ่ ซึ่งรูปแบบในปีนี้จะค่อนข้างยิ่งใหญ่กว่าทุกปี





วันจันทร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2557

เศรษฐกิจพอเพียงในครอบครัวของฉัน


เศรษฐกิจพอเพียงในครอบครัวของฉัน
เศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางอีกอย่างเพื่อใช้ในการทำมาหากินเลี้ยงตนเองและครอบครัวหรือแม้แต่คนรอบข้างได้  เป็นการดำเนินชีวิตที่ไม่เดือดร้อนใครโดยที่สามารถพึ่งตนเองได้  โดยหลักการใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของพ่อหลวง
ครอบครัวฉันเป็นครอบครัวที่ใหญ่พอสมควร  มีสมาชิกทั้งหมดก็  6  คน มี พ่อ แม่ พี่  น้อง แล้วก็ฉัน  แต่ละคนมีหน้าที่แตกต่างกันไปคนละหน้าที่  อาชีพหลักของครอบครัวฉันคือ  ทำนา – ทำไร่ พ่อฉันจะมีอาชีพอีกอย่างคือ รับจ้างทำก่อสร้าง รับเหมาทำบ้านกับพี่ชายของฉัน  ส่วนแม่ก็ต้องไปเลี้ยงวัวทุกวัน เพราะเราเลี้ยงวัวด้วย  และฉันกับน้องก็กำลังเรียนหนังสืออยู่ ครอบครัวของเราจะคิดถึงคำที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ท่านเคยตรัสไว้ว่า "อยู่อย่างพอเพียงกินอย่างพอเพียง  พอถึงฤดูกลาทำนา เราก็ทำนา  ปลูกข้าว  พอเสร็จฤดูกาลทำนาแล้ว  เราเลยคิดทำตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง  คือ  ปลูกมันสำปะลังในแปลงนาสัก  34 แปลง  ปลูก  ข้าวโพด  แตงโม  ถั่ว เป็นต้น  และทำแปลงสัก 45 แปลง เพื่อที่จะปลูกผักสวนครัว  เช่น ต้นหอม  ผักชี  ผักบุ้ง  คะน้า  ผักกาดขาว ผักกาดเขียว  พริก ข่า ตะไคร้ มะเขือ มะนาว  เป็นต้น  เราจะปลูกผักกินเองด้วยและแจกญาติพี่น้องเราด้วย  เพราะมันก็จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก  และไม่ต้องเสียเวลาเดินไปซื้อของที่ตลาดมาทำกับข้าว  และอีกอย่างผักของเราก็ปลอดสารผิด  ปลอดภัยต่อคนในครอบครัวและคนรอบข้างอีกด้วย  เพราะเราไม่ใช้ยาฆ่าแมลง  แต่เราจะนำปุ๋ยขี้วัวที่เราเลี้ยงอยู่มาใส่ในแปลงผักของเรา  ถ้าเกิดผักที่เหลือจากกินแล้ว   เราก็สามารถเก็บไปขายที่ตลาดได้  เราก็จะได้รายได้เพิ่มจากส่วนนี้  ความพอเพียงนี้ครอบครัวเราได้นำมาเป็นยึดเหนี่ยวจิตใจมาโดยตลอด  และยังได้ปฏิบัติตามรอยพระบาทของในหลวง  คือ  ประหยัด  อดออม  ซื่อสัตย์  สุจริต  รู้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน  การนำแนวทางพอเพียงไปประยุกต์ในชีวิตประจำวัน คือ 1. รู้จักใช้จ่ายของอย่างประยัดไม่ฟุ่มเฟือย ใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็น  2. ดำเนินชีวิตอยู่บนความพอดีแก่ฐานะตนเอง ไม่มากหรือน้อยไป  3. รู้จักพึ่งพาตนเองได้มากที่สุด  4. รู้จักรวบรวมกลุ่มช่วยเหลือกัน5. ปฏิบัติตนตามแนววิถีไทย  ไม่หลงใหลในวัตถุ
เราทุกคนควรยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำริของหระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  เพื่อชีวิตที่เป็นอยู่ที่ดีขึ้นดังคำกลอนนี้
เศรษฐกิจพอเพียงสร้างชีวิต                                            เศรษฐกิจพอเพียงสร้างนิสัย
เศรษฐกิจพอเพียงสร้างกำไร                                           ชีวิตเราสดใสเพราะพอเพียง
ความพอเพียงหลักเศรษฐกิจ                                            พลิกวิกฤติเป็นโอกาสทุกชีพหนอ
หลักปรัชญาชีวิตที่เพียงพอ                                              ช่วยถักทอชีวิตใหม่ดีกว่าเดิม

วันอังคารที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2557

งานประเพณีแซนโฎนตา จังหวัดสุรินทร์

งานประเพณีแซนโฎนตา จังหวัดสุรินทร์


พิธีแซนโฏนตาของเช้าสุรินทร์

 จังหวัดสุรินทร์ โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ หน่วยงานภาครัฐและเอกชนในจังหวัดสุรินทร์ และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เตรียมจัดงาน "ประเพณีแซนโฎนตา บูชาบรรพบุรุษ” ประจำปี 2556 ในวันที่ 1 ตุลาคม 2556 ณ บริเวณอนุสาวรีย์พระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง อ.เมืองสุรินทร์ เพื่อสืบสานวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นที่มีมาแต่โบราณ และส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดสุรินทร์ โดยกิจกรรมในงานประกอบด้วย การจัดขบวนการแสดงรำพื้นบ้าน ขบวนแห่เครื่องจูนโฎนตา ที่ยิ่งใหญ่และงดงาม ภายใต้ชื่อ มหัศจรรย์เครื่องเซ่นไหว้ประเพณีแซนโฎนตาที่มากที่สุดในโลก ประกอบด้วย สำรับอาหารคาว หวานของสดและผลไม้ สำหรับไหว้ผู้อาวุโสในครอบครัว ขบวนแห่เครื่องแซนโฎนตา จากชุมชนและคุ้มวัดต่างๆ ประกอบด้วยสำรับอาหารคาวหวาน ขนม ข้าวต้มมัด กระยาสารท ฯลฯ สำหรับเซ่นไหว้บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว
       สำหรับประเพณีแซนโฎนตา  (แซน-โดน-ตา  เป็นภาษาเขมร แปลว่า เซ่นไหว้บรรพบุรุษ) หรือวันสารทเขมร คล้ายวันสารทจีนนั่นเอง เป็นประเพณีที่ชาวไทยเชื้อสายเขมร ได้ถือปฏิบัติสืบทอดกันมา เพื่อทำบุญอุทิศส่วนกุศลแด่บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว เป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีแก่ผู้ใหญ่หรือผู้มีพระคุณ โดยจะประกอบพิธีแซนโฎนตา ในวันแรม 14 ค่ำ เดือน 10 ของทุกปี ซึ่งในปีนี้ตรงกับวันที่ 19 กันยายน 2557 จังหวัดสุรินทร์ จึงได้จัดงานขึ้นก่อนวันจริง 2 วัน เพื่อประชาชนจะได้อยู่ร่วมประกอบพิธีที่บ้านของตนเองในช่วงวันสำคัญดังกล่าว

วันจันทร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2557

อุทยานพนมสวาย


อุทยานพนมสวาย

         อยู่ห่างจาก ตัวจังหวัดประมาณ 22 กิโลเมตร ถ.สุรินทร์-ปราสาท ตั้งอยู่ที่ตำบล นาบัว อำเภอเมืองสุรินทร์ เป็นภูเขาเตี้ย ๆ มียอกเขา 3 ยอดที่เป็น ที่ประดิษฐาน พระพุทธสุรินทรมงคล ศาลาอัฏฐะมมุข พระพุทธบาทจำลอง สถูป บรรจุอัฐิหลวงปู่ดุลย์ ซึ่งชาวสุรินทร์ เคารพ นับถือ

     วนอุทยานแห่งชาติพนมสวาย หรือเขาสวาย ตั้งอยู่ในพื้นที่ 2 ตำบลคือ ตำบลนาบัว ตำบลสวาย มีเนื้อที่ 1,975 ไร่ ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าเขาสวายท้องที่ตำบลนาบัว อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ "พนมสวาย" เป็นคำภาษาพื้นที่เมืองสุรินทร์ "พนม" แปลว่าภูเขา "สวาย" แปลว่า "มะม่วง" ในหมู่พนมสวายประกอบด้วภูเขา 3 ลูกติดต่อกันซึ่งมีมีชื่อพื้นเมืองเรียกแตกต่างกันไป ได้แก่ "พนมกรอล" แปลว่า "เขาคอก" มีความสูงประมาณ 150 เมตร "พนมเปร๊า แปลว่า "เขาชาย" มีความสูงประมาณ 220 เมตร "พนมสรัย" แปลว่า "เขาหญิง" มีความสูงประมาณ 210 เมตร รวมกันทั้ง 3 ลูก มีชื่อว่า เขาพนมสวาย ความจริงคือ พนมสวายคือภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว จึงมีลานหินกระจายทั่วไป เนื่องจากวนอุทยานพนมสวายได้สำรวจทั่วบริเวณวนอุทยานพบว่า มีต้นกล้วยไม้ป่าอยู่เป็นจำนวนมาก ทางวนอุทยานได้จัดต้นกล้วยไม้ป่า มาติดไว้ตามต้นไม้ต่างๆ ริมถนน ริมลานจอดรถบ้าง วนอุทยานพนมสวาย ถือว่าเป็นวนอุทยานเฉลิมพระเกียรติแห่งหนึ่งในประเทศไทย และเป็นสถานที่แสวงบุญของชาวไทยที่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา เขตอุทยานพนมสวาย เขาพนมสวาย เป็นภูเขาที่โผล่ขึ้นมาโดดๆบนที่ราบทำนาของจังหวัดสุรินทร์ ห่างจากเทือกเขาพนมดงรักประมาณ 50 กิโลเมตร ห่างจากเขาพนมรุ้งประมาณ ๕๐ กิโลเมตร (สามารถมองเห็นพนมรุ้ง และเขากระโดงได้ที่ด้านหลังพระพุทธสุรินทร์มงคล จนเห็นเทือกเขาพนมดงรัก และ เขาพระวิหาร) และอยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดสุรินทร์ไปทางตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ ๒๒ กิโลเมตร

          ในอดีตบรรพบุรุษชาวสุรินทร์ถือว่าเขาพนมสวายเป็น สถานที่แสวงบุญ โดยการเดินทางไปขึ้นยอดเขาในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ซึ่งเป็นวันหยุดงานตามประเพณีของชาวจังหวัดสุรินทร์มาแต่โบราณกาล และจวบจนปัจจุบันชาวสุรินทร์ยังถือปฏิบัติเรื่อยมา ผู้ที่มาเยือนเขาพนมสวาย จะได้สักการะ 9 สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง เพื่อความเป็นสิริมงคล คือ พระใหญ่หรือพระพุทธสุรินทรมงคล รอยพระพุทธบาทจำลอง อัฐิหลวงปู่ดุล อตุโล พระพุทธรูปองค์ดำ หลวงปู่สวน ปราสาทหินพนมสวาย ศาลเจ้าแม่กวนอิม เต่าศักดิ์สิทธิ์ และสระน้ำศักดิ์สิทธิ์