วันอังคารที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ประวัติส่วนตัว




ชื่อนางสาวมาริสา  ยิ่งสุข   ชื่อเล่นกุ้ง

ที่อยู่ 19 หมู่ 18 บ้านปวงตึกใต้ ตำบลตาตุม อำเภอสังขะ  จังหวัดสุรินทร์ 

คติประจำใจ : อย่าเพิ่งท้อแท้ในสิ่งที่ยังไม่พยายาม และอย่าเพิ่งหมดหวังในสิ่งที่ยังไม่เริ่มต้น

รหัสนักศึกษา  55125460214

สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

คณะวิทยาการจัดการ

วันพ่อแห่งชาติ ปี 2557



สวัสดีค่ะ นี้ก็ใกล้วันพ่อแล้วนะค่ะ  ทุกคนรู้ประวัติความเป็นมาของวันพ่อยังค่ะ เดียวเราจะมารู้กันนะค่ะ

วันพ่อแห่งชาติ 2557 ประวัติความเป็นมาความสำคัญของวันพ่อ

    พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (ราชบัณฑิตยสถาน พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 หน้า 587) พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายคำว่า “พ่อ” ไว้ดังนี้
 
     พ่อ หมายถึง ชายผู้ให้กำเนิดแก่ลูก, คำที่ลูกเรียกชายผู้ให้กำเนิดตน
     ในทางพุทธศาสนา ได้ให้ความหมายของคำว่า “พ่อ” หมายถึง ชายผู้ให้กำเนิดแก่ลูกมีใช้หลายคำ เช่น
         
     - บิดา (พ่อ)
     - ชนก (ผู้ให้กำเนิด)
     - สามี (ผัวของแม่) เป็นต้น
 
     วันพ่อแห่งชาติ  5 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทางราชการได้กำหนดให้เป็นวันหยุดราชการหนึ่งวัน เพื่อให้ประชาชนชาวไทย ได้ร่วมกันเฉลิมฉลองในวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและถือเป็นวันพ่อแห่งชาติ อีกวันหนึ่งด้วย
 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นพุทธศาสนิกชนที่มีพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นที่ยิ่ง เมื่อพุทธศักราช 2499 มีพระราชประสงค์ที่จะทรงพระผนวชในพระบวรพุทธศาสนาตามโบราณราชประเพณี นายกรัฐมนตรีได้กราบบังคมทูลพระกรุณาขอรับพระราชภาระสนองพระเดชพระคุณในการทรงพระผนวชในนามของรัฐบาลและประชาชนชาวไทยและได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้แต่งตั้งสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ด้วยความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร

     ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้ทรงพระผนวชในพระบวรพุทธศาสนา 15 วัน ระหว่างวันที่ 22 ตุลาคม - 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499

กิจกรรมที่ควรปฎิบัติในวันพ่อแห่งชาตินี้

      1. ในวันพ่อแห่งชาติเราควรประดับธงชาติไทยที่อาคารบ้านเรือน

      2. จัดพิธีศาสนสงฆ์ ทำบุญใส่บาตร อุทิศเป็นพระราชกุศล น้อมเกล้าฯ ถวายพระพรชัยมงคล

     3. จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล

ความเป็นมาของวันพ่อแห่งชาติ  

      วันพ่อแห่งชาติ ได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2523 โดยคุณหญิงเนื้อทิพย์ เสมรสุต นายกสมาคมผู้อาสาสมัครและช่วยการศึกษาเป็นผู้ริเริ่มหลักการและเหตุผลในการจัดตั้งวันพ่อแห่งชาติ พ่อเป็นผู้มีพระคุณที่มีบทบาทสำคัญต่อครอบครัวและสังคม สมควรที่ผู้เป็นลูกจะเคารพเทิดทูนตอบแทนพระคุณด้วยความกตัญญู และสมควรที่สังคมจะยกย่องให้เกียรติรำลึกถึงผู้เป็นพ่อ จึงถือเอาวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปีซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาเป็น “วันพ่อแห่งชาติ” ด้วยพระมหากรุณาธิคุณ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทยอย่างนานัปการ ทรงเป็นพระราชบิดาของพระราชโอรสและพระราชธิดา ทรงรักใคร่และให้ดอกพุทธรักษาเป็นสัญลักษณ์ วันพ่อแห่งชาติ

ทุกบุปผา มาลัยคือใจราษฎร์ ภักดีบาทองค์บพิตรเป็นนิจสิน
พระ คือ บิดาข้าแผ่นดิน ร่วมร้อยรินมาลัยถวายพระพร
ลุ 5 ธันวามหาราช “วันพ่อแห่งชาติ” คือองค์อดิศร
พระเปี่ยมล้นด้วยเมตตาเอื้ออาทร พสกนิกรเป็นสุขทุกคืนวัน 
    
ด้วยพ่อเป็นบุคคลผู้มีพระคุณ มีบทบาทสำคัญต่อครอบครัวและสังคม สมควรที่ผู้เป็นลูกจะเคารพ เทิดทูน และตอบแทนพระคุณด้วยความกตัญญู และสังคมควรที่จะยกย่องให้เกียรติรำลึกถึงผู้เป็นพ่อนี่เป็นที่มาของการจัดให้มี วันพ่อแห่งชาติ


5 ธันวาวันพ่อแห่งชาติ  

      5 ธันวาคมของทุกปี ซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชและยังเป็นวันพ่อแห่งชาติ เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฐานะพ่อแห่งชาติ อีกทั้งทรงเป็นพ่อตัวอย่างของปวงชนชาวไทย ที่เปี่ยมล้นด้วยพระเมตตากรุณา ทรงบำเพ็ญคุณานุประโยชน์แก่ประเทศชาติ และประชาชน ทรงพระมหากรุณาทะนุบำรุงขจัดทุกข์ผดุงสุขพสกนิกรถ้วนหน้า พระองค์ทรงเป็น พ่อแห่งชาติที่อาณาประชาราษฎร์เทิดทูนด้วยความจงรักภักดี สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และยึดมั่นในการเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาทในการทะนุบำรุงชาติบ้านเมืองให้ วัฒนาถาวรสืบไป ซึ่งมีวัตถุประสงค์ของวันพ่อแห่งชาติ 4 ประการ คือ
 
1.       เพื่อเทิดทูนพระเกียรติคุณของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
2.       เพื่อเทิดทูนพระคุณของพ่อ และยกย่องบทบาทของพ่อที่มีต่อครอบครัวและสังคม
3.       เพื่อให้ลูกได้แสดงความกตัญญูกตเวทีต่อพ่อ
4.       เพื่อให้ผู้เป็นพ่อ สำนึกในหน้าที่และความรับผิดชอบของตน
ดอกไม้ประจำวันพ่อแห่งชาติ
 
     วันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปีเป็นวันพ่อแห่งชาติ กำหนดขึ้นครั้งแรก ในปี 2523 และ กำหนดให้ ดอกพุทธรักษาสีเหลือง เป็นดอกไม้สัญลักษณ์ประจำวันพ่อแห่งชาติ

ดอกพุทธรักษาสีเหลือง เป็นดอกไม้สัญลักษณ์ประจำวันพ่อแห่งชาติ
  “พุทธรักษา” ซึ่งหมายถึง พระพุทธเจ้าทรงปกป้องคุ้มครอง ให้มีแต่ความสงบสุขร่มเย็น ซึ่งมีเรียกกันมากว่า 200 ปี และสีเหลืองอันเป็นสีประจำวัน พระราชสมภพขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ของปวงชนชาวไทย การมอบดอกพุทธรักษาให้กับพ่อ จึงเสมือนกับการบอกถึง ความรักและเคารพบูชาพ่อ ผู้สร้างความสงบสุขร่มเย็นให้แก่ครอบครัว
 
     คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นพุทธรักษาไว้ประจำบ้านจะช่วยปกป้องคุ้มครอง ไม่ให้มีเหตุร้ายหรืออันตรายเกิดแก่บ้านและผู้อาศัย เ
 
บทบาทของพ่อ
 
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสรุปบทบาทหน้าที่ของพ่อและแม่ไว้ 5 ข้อ

1.       กันลูกออกจากความชั่ว
2.       ปลูกฝังลูกไว้ในทางที่ดี
3.       ให้ลูกได้รับการศึกษาเล่าเรียน
4.       ให้ลูกได้แต่งงานกับคนดี
5.       มอบทรัพย์มรดกให้เมื่อถึงการณ์อันควร

 วันพ่อแห่งชาตินั้นทั่วโลกจะมีการจัดแตกต่างกันไป โดยในประเทศไทยจัดตรงกับวันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี

     ในส่วนของพ่อเองก็ต้องตั้งใจฝึกตนเองให้ดี ให้เป็นตัวอย่างที่ดีให้ลูกให้ได้  หาเวลามาทำกิจกรรมร่วมกัน จะได้มีเวลาแนะนำอบรมสั่งสอนกันเพื่อครอบครัวจะได้ เป็นครอบครัวอบอุ่น โดยในวันพ่อที่จะถึงนี้ ก็ขออวยพรให้คุณพ่อทุกท่านมีความสุข ดูแลลูกๆ และอยู่กับลูกๆ ไปตราบนานเท่านาน


ชายคนหนึ่ง ทำทุกอย่าง ไม่เคยบ่น    ทั้งตากแดด ตากฝน ยอมทนหนาว
    เพื่อความหวัง ที่สดใส สุขสกาว      ให้ลูกชาย ลูกสาว ได้เล่าเรียน

ค่ะนี้ก็ใกล้วันพ่อแล้ว ทุกคนอย่าลืมไปไหว้พ่อกันนะค่ะ

10 สูตรวิธีรักษาสิวและทำให้หน้าใส ด้วยขมิ้นชัน

วิธีรักษาสิวแบบธรรมชาติ 

                  สำหรับใครที่กำลังมองหาสูตร วิธีรักษาสิวแบบธรรมชาติ หรือวิธีทำให้หน้าใสแบบธรรมชาติ…อย่าได้พลาดค่ะ วันนี้เราได้รวบรวมสูตรวิธีมากมายเกี่ยวกับการรักษาสิวด้วยขมิ้น รวมถึงสูตรหน้าใสด้วยขมิ้นมาฝากค่ะ ซึ่งเป็นสูตร เป็นภูมิปัญญาของคนสมัยแต่ก่อน สำหรับสาวๆ แล้วการใช้ขมิ้นทาผิวหน้าจะทำให้ผิวหน้านุ่มนวล คนมาเลเซียและคนไทยสมัยก่อนจะใช้ขมิ้นในการอาบน้ำ ทำให้ผิวผ่องยิ่งขึ้น วิธีการอาบน้ำด้วยขมิ้นนั้น จะทาขมิ้นหมักไว้ที่ผิวหนังสักพัก แล้วจึงขัดออกด้วยส้มมะขามเปียก นอกจากทำให้ผิวหนังนุ่มนวลแล้ว ขมิ้นยังมีสรรพคุณในการป้องกันการงอกของขน ผู้หญิงอินเดียจึงใช้ขมิ้นทาผิวหนัง เพื่อป้องกันไม่ให้ขนงอก คนพม่าเชื่อว่าถ้าใช้ขมิ้นผสมสมุนไพร ที่ชื่อทาคาน่า ทาผิวเด็กสาวตั้งแต่ยังเล็กๆ จะทำให้เนื้อผิวละเอียดสวยชนิดที่หนุ่มมองได้ไม่วางตาเชียวละค่ะ 


มารู้จัก ”ขมิ้น” กันเถอะ

           
           “ขมิ้นชัน เป็นพืชสมุนไพร และประโยชน์ของขมิ้นชันกับผิวนั้นไม่ได้แค่ต่อต้านหรือลดการอักเสบหรือรักษาสิวเท่านั้น แต่ยังใช้ทาผิวที่มีผดผื่นคัน ผงขมิ้นใช้ทาตัวเพื่อให้มีสีผิวกระจ่างขึ้นด้วยเมื่อใช้เป็นประจำและช่วยฆ่าเชื้อ ที่ทำให้เกิดโรคผิวหนังบางชนิดยังช่วยบำรุงให้สีผิวกระจ่างขึ้นด้วยเมื่อใช้เป็นประจำ ขมิ้นชันได้รับการยอมรับว่าช่วยลดการอักเสบและลดการระคายเคืองเมื่อนำมาใช้กับผิว อย่างที่รู้กันว่าสิวนั้นเกิดจากแบคทีเรีย P.acne ที่ทำให้เกิดการอักเสบหรือบวมแดงที่เราเห็น ซึ่งก็ได้มีการวิจัยว่าขมิ้นชันสามารถหยุดยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียตัวนี้ได้และสามารถผสมใช้ร่วมกับ Neem oil, Tea Tree oil เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพมากขึ้น ยังมีการวิจัยอื่นที่บอกอีกว่าขมิ้นชันช่วยปรับสภาพผิวเพื่อให้ผิวดูอ่อนเยาว์ขึ้น ช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น ทำให้ไม่แปลกใจเลยที่มีการผสมขมิ้นชันในเครื่องสำอางที่ขายตามท้องตลาดมากมาย 

สูตรวิธีรักษาสิวและทำให้หน้าใส 

1 สูตรขมิ้นสด + ดินสอพอง + น้ำมะนาว
สูตรนี้ช่วยบำรุง: ผิวหน้าให้ผุดผ่องสดใสอ่อนวัย และช่วยให้สิวยุบเร็ว

ส่วนผสม
ขมิ้นสด (เล็กน้อย)
ดินสอพอง 2-3 เม็ด
มะนาว 1 ผล
วิธีทำ 
นำขมิ้นสดมาล้างน้ำให้สะอาดหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ปั่นรวมกับดินสอพองและมะนาว จนละเอียดรวมเป็นเนื้อเดียวกัน จะได้เนื้อครีมข้นและเหนียวใช้สำหรับนำมาพอกกับหน้าที่สะอาดแล้วก่อนเข้านอน โดยพอกทิ้งไว้ประมาณ 15-20 นาที จึงล้างออกด้วยน้ำสะอาด จะรู้สึกผิวหน้าสดชื่นและเต่งตึงขึ้นด้วย ทำเป็นประจำสัปดาห์ละ 3 - 4 ครั้งภายในเวลาไม่ถึงเดือนจะสังเกตเห็นว่าผิวหน้าดูดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ก็จะเห็นความเปลี่ยนแปลงจนสามารถสังเกตได้มะนาว จะทำให้ผิวนวลเนียนขึ้นสามารถสัมผัสได้ และเมื่อผสมรวมกันกับผักแว่น ก็จะยิ่งทำให้ผิวหน้าดูดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด 

2 สูตรดินสอพองผสมน้ำมะนาว หรือน้ำมะขามเปียก 
สูตรนี้ช่วยบำรุง: เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาผิวมัน รูขุมขนกว้าง และมีสิวเสี้ยน สูตรนี้สามารถเปลี่ยนจากน้ำมะนาวมาเป็นน้ำมะขามเปียกก็ได้ค่ะ 
ผลที่ได้ : จะช่วยให้ผิวหน้าเนียนนุ่มขึ้น รูขุมขนกระชับ และความมันลดลง ให้ผลเร็ว 1-3 วันเห็นผลแน่นอน สิวแห้ง ยุบลง

ส่วนผสม 
ดินสอพองสะตุ 3 - 4 เม็ดใหญ่
น้ำมะนาว 2 ช้อนชา

วิธีทำ 
นำดินสอพองสะตุมาบดละเอียดด้วยภาชนะที่สะอาด ผสมน้ำมะนาวลงไป คนให้เข้ากัน (มันจะกลายเป็นครีมข้นๆ)
ดินสอพองจะพองตัวขึ้นและมีฟองอากาศ นั่นเพราะดินสอพองกำลังทำปฏิกิริยากับกรดในน้ำมะนาวนั่นเอง
จากนั้นทาครีมดินสอพองจนทั่วใบหน้ายกเว้นรอบดวงตา หรือจะแต้มเฉพาะตรงที่หัวสิวก็ได้ค่ะ ทิ้งไว้ 15 - 20 นาทีหรือจะทาก่อนนอนทิ้งไว้จนเช้าก็ได้
วิธีล้าง 
ให้ล้างด้วยน้ำอุ่น แล้วใช้ผ้าเช็ดเบา ๆ บริเวณที่มีสิวเสี้ยน
จากนั้นล้างอีกครั้งด้วยน้ำเย็นเพื่อกระชับรูขุมขน
ทำเป็นประจำสัปดาห์ละ 1 - 2 ครั้ง 

3 สูตรผงขมิ้นผสมกับน้ำมะนาว 
สูตรนี้ช่วยบำรุง: ก็เป็นอีกสูตรที่ใช้กันเยอะ โดยเฉพาะคนที่เป็นสิวเยอะมากบนใบหน้า พอลองใช้สูตรนี้แล้วพบว่า ช่วยลดอาการบวมแดงจากสิว สิวยุบเร็ว สิวและรอยสิวลดลง และหน้าเนียนขึ้นด้วย 

วิธีทำ
ผสมผงขมิ้นชันกับน้ำมะนาว หรือถ้าอยากให้ข้นสามารถผสมกับน้ำมันต่างๆได้และแต้มที่สิวก่อนนอน หรือจะพอกทั่วทั้งใบหน้าก็ได้ ถ้าหากคุณเป็นสิวบนใบหน้าเยอะมาก โดยไม่ต้องล้างออก ทิ้งไว้อย่างน้อยครึ่งชั่วโมง หรือจนคุณทนไม่ได้เพราะเมื่อพอกแล้วมันจะรู้สึกแสบหน้าค่ะ แต่ถ้าทิ้งข้ามคืนได้จะดีมากกกค่ะ 

4 สูตรผงขมิ้นผสมกับน้ำนม หรือน้ำผึ้ง
สูตรนี้ช่วยบำรุง: ช่วยให้สิวยุบเร็วและช่วยบำรุงผิวหน้าให้ผุดผ่องสดใสอ่อนวัย
ผลที่ได้ : ช่วยให้สิ้วเสี้ยนหลุด สมานผิวและรูขุมขนกระชับขึ้น ช่วยรักษาแผลที่เกิดจากสิวอักเสบ ไม่ให้เกิดเป็นแผลเป็น ทำให้ผิวหน้าเนียนนุ่ม 

วิธีทำ

ครีมขัดและพอกหน้า นำขมิ้นผงผสมกับน้ำนม หรือน้ำผึ้ง จากนั้นล้างหน้า ให้สะอาดแล้วนำขมิ้นที่เตรียมไว้ขัดใบหน้าเบา ๆ จนทั่วพอกไว้อย่างนั้นประมาณ 5 นาที ล้างออกได้ด้วยน้ำอุ่น ๆ
หรืออีกวิธี คือ ใช้เหง้าขมิ้นสดมาหั่นบาง ๆ แล้วตากแห้ง นำมาบดเป็นผงให้ละเอียดผสมกับน้ำนมทาตัวเอาไว้ก่อนจะอาบน้ำทิ้งไว้ 10 - 20 นาที เป็นอย่างน้อย แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด หรือตามด้วยการอาบน้ำชำระร่างกาย ผลที่ได้รับคือ ช่วยให้ผิวนุ่มนวลเนียน แก้โรคผดผื่นคัน หรือจุดด่างดำบนร่างกายให้หายไป 


5 สูตรขมิ้นชันสด 
สูตรนี้ช่วยบำรุง: สำหรับคนที่ใช้ขมิ้นผงแล้วแพ้ เปลี่ยนมาใช้แบบสดดีกว่าค่ะ (เพราะเคยมีคนที่เกิดอาการแพ้ขมิ้นผง พอเปลี่ยนมาใช้แบบสดก็สามารถใช้ได้ไม่เกิดอาการแพ้ค่ะ)
ผลที่ได้ : ผิวเนียนขึ้น สิวอุดตัน สิวอักเสบ หายหมดค่ะ

วิธีใช้
- นำขมิ้นชันสดมาปลอกเปลือก แล้วนำไปปั่นแล้วเอาไปใส่กระปุกแช่ตู้เย็นไว้ค่ะ พอครบ 1 อาทิตย์ ก็ทำใหม่ค่ะ
- ใช้คอตต้อนบัด จิ้มๆ น้ำแล้วนำมาทาหน้า ก่อนล้างหน้า 10-15 นาที
- ควรใช้ตอนเย็น เพราะหน้าจะเหลือง ต้องล้างประมาณ 2 ครั้งถึงจะออกค่ะ
6 สูตรน้ำผึ้ง 
น้ำผึ้ง” มีสรรพคุณลดการอักเสบ และติดเชื้ออยู่ด้วย และเร่งการสร้างเนื้อเยื่อใหม่น้ำผึ้งจึงใช้สมานบาดแผลชนิดต่างๆ
สูตรนี้ช่วยบำรุง: สูตรน้ำผึ้งนี้เหมาะสำหรับคนผิวแห้ง แพ้ง่าย มะนาวอาจจะทำให้เกิดความระคายเคืองและแห้งมากขึ้น สูตรนี้จึงใช้น้ำผึ้งที่มีคุณสมบัติสมานผิวเข้ามาแทนที่ และยังเพิ่มความชุ่มชื้นด้วยน้ำมันงา

ส่วนผสม 
ดินสอพองสะตุ 3 - 4 เม็ดใหญ่
น้ำผึ้ง 2 ช้อนชา
น้ำเปล่า 1/2 ช้อนชา
น้ำมันงา 1/2 ช้อนชา
วิธีทำ 
นำดินสอพองสะตุมาบดละเอียด ผสมน้ำผึ้งและน้ำมันงา (หรือน้ำมันมะกอกก็ได้) คนให้เข้ากัน
น้ำมาพอกให้ทั่วใบหน้ายกเว้นรอบดวงตา
ทิ้งไว้ 15 - 20 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด
หลังล้างหน้าจะมีความมันของน้ำมันงาหลงเหลืออยู่บ้าง
หากไม่ชอบให้ล้างด้วยน้ำอุ่นแล้วตามด้วยน้ำเย็น

7 สูตรน้ำนมขมิ้น 
สูตรนี้ช่วยบำรุง: น้ำนมมีคุณสมบัติช่วยให้ผิวเนียนนุ่ม ชุ่มชื่น และบวกกับขมิ้นที่ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย แก้ผดผื่นคัน และบำรุงผิวให้เปล่งปลั่งด้วย สูตรนี้เหมาะกับทุกสภาพผิว

ส่วนผสม 
ดินสอพองสะตุ 4 - 5 เม็ดใหญ่
นมสด 2 ช้อนชา
น้ำขมิ้น 1 ช้อนชา
วิธีทำน้ำขมิ้น
นำหัวขมิ้นมาล้างน้ำให้สะอาด หั่นเป็นแว่นแล้วตำจนแหลก
ผสมน้ำเล็กน้อย กรองเอาน้ำด้วยผ้าขาวบาง
วิธีทำ 
บดดินสอพองสะตุจนละเอียด แล้วคนส่วนผสมทุกอย่างให้เข้ากัน พอกหน้าทิ้งไว้ 15 - 20 นาที จากนั้นล้างออกด้วยน้ำสะอาด

8 สูตรขมิ้นแห้ง 25 กรัม + ว่านนางคำ 200 กรัม + ไพล 50 กรัม + ดินสอพอง 1000 กรัม 
ส่วนผสม
นำขมิ้นแห้ง 25 กรัม + ว่านนางคำ 200 กรัม + ไพล 50 กรัม + ดินสอพอง 1000 กรัม
วิธีทำ
นำมาบดผสมกัน ใช้พอกหน้า และตัวเพื่อบำรุงผิวได้ (ถ้าผิวมันใช้ผสมกับน้ำมะกรูดเผาไฟ ถ้าผิวแห้ง ใช้ผสมกับน้ำผึ้ง หรือ นมสด) ควรพอกประมาณ 5 - 10 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำอุ่น ตามด้วยน้ำเย็น สลับกัน

9 สูตรดินสอพอง ผสมกับขมิ้น 
ขมิ้น มีสรรพคุณ ฆ่าเชื้อโรคอ่อน ๆ มันก็สามารถบรรเทาอาการสิวคุณได้

วิธีทำ
 นำดินสอพองมาผสมกับผงขมิ้น คนให้เข้ากัน แล้วนำมาแต้มที่หัวสิว แต่ถ้าจะเอามาพอกหน้า ควร ลด ขมิ้นผงลง เพราะคุณอาจจะกลายเป็น ดีซ่านได้

10 ดินสอพอง ผสมกับไพล
ไพล เป็น ญาติกับ ขมิ้น แต่ไพล มีสีเหลืองนวล อ่อนกว่า ขมิ้น
มีสรรพคุณช่วย บำรุงผิว ลดอาการระคายเคือง วิธีทำ นำดินสอพองมาผสมกับไพล คนให้เข้ากัน แล้วนำมาแต้มที่หัวสิว

วิธีทำ
นำดินสอพองมาผสมกับไพล คนให้เข้ากัน แล้วนำมาแต้มที่หัวสิว หรือนำไปพอกหน้าก็ได้
หวังว่าบทความนี้ คงจะเป็นประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อย สำหรับผู้ที่กำลังประสบกับปัญหาสิว และมองหาวิธีรักษาสิวแบบธรรมชาตินะค่ะ 

วันอาทิตย์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

วัดวังวิเวกการามณ์ สังขละ กาญจนบุรี

“หลวงพ่ออุตตมะ”


ประวัติหลวงพ่ออุตตมะ
      หลวงพ่ออุตตมะเกิดเมื่อวันอาทิตย์ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 4 ปีจอ จุลศักราช 1272 (พ.ศ. 2453) ที่หมู่บ้านโมกกะเนียง ตำบลเกลาสะ อำเภอเย จังหวัดมะละแหม่ง เป็นบุตรของนายโงและนางทองสุข อาชีพทำนา มีพี่น้องรวม 12 คน เนื่องจากเป็นทารกเพศชายเกิดในวันอาทิตย์จึงมีชื่อว่า “เอหม่อง” 

       ปี พ.ศ. 2462 ขณะเด็กชายเอหม่องมีอายุได้ 9 ขวบ เกิดอหิวาตกโรคระบาดขึ้นในหมู่บ้าน บิดามารดาจึงพาเด็กชายเอหม่องไปฝากกับพระอาจารย์นันสาโรแห่งวัดโมกกะเนียงผู้เป็นลุงเพื่อให้ปรนนิบัติรับใช้และศึกษาพระธรรมเป็นเครื่องคุ้มครองจากโรคภัย เด็กชายเอหม่องเป็นผู้ใฝ่ใจในการศึกษาอย่างยิ่ง จนสามารถสอบได้ชนะเด็กในวัยเดียวกันเป็นประจำทุก ๆ ปี 

      ปี พ.ศ. 2467 เด็กชายเอหม่องอายุได้ 14 ปี เกิดอหิวาตกโรคระบาดครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง ส่งผลให้ต้องสูญเสียน้องชายถึง 5 คน เด็กชายเอหม่องจึงขอออกจากวัดโนกกะเนียงเพื่อมาช่วยเหลือทางบ้านด้วยความขยันขันแข็ง จนกระทั่งอายุ 18 ปี เจ้าอาวาสวัดเกลาสะได้ไปขอกับบิดามารดาให้เด็กชายเอหม่องไปบรรพชาเป็นสามเณร 

      หลวงพ่ออุตตมะบรรพาเป็นสามเณร ณ วัดเกลาสะ ตำบลเกลาสะ อำเภอเย จังหวัดมะละแหม่ง เมื่อจุลศักราช 1291 (พ.ศ. 2472) โดยมีพระเกตุมาลาเป็นพระอุปัชฌาย์ ปีนั้นเองหลวงพ่อศึกษาภาษาบาลี และพระปริยัติธรรมจนสอบได้นักธรรมตรี อีกปีหนึ่งต่อมาสอบได้นักธรรมโท แต่ไม่นานหลวงพ่อก็ตัดสินใจสึกออกมาเพราะเห็นว่าไม่มีใครช่วยบิดามารดาทำนา 

      จนกระทั่งหม่องเอ ซึ่งเป็นลูกของพี่สาวของบิดา ได้มาอาศัยอยู่ด้วย หลังจากที่บิดามารดาของหม่องเอเสียชีวิตจนหมดสิ้น ซึ่งเท่ากับว่ามีคนมาช่วยแบ่งเบาภาระในการทำนา และมีญาติซึ่งไว้วางใจได้มาคอยดูแลบิดามารดา หลวงพ่ออุตตมะจึงตัดสินใจอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดเกลาสะ โดยมีพระเกตุมาลา วัดเกลาสะ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระนันทสาโร วัดโมกกะเนียง เป็นพระกรรมวาจารย์ พระวิสารทะ วัดเจ้าคะเล เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2476 ได้รับฉายาว่า “อุตตมรัมโภ” แปลว่า ผู้มีความพากเพียรอันสูงสุด” โดยหลวงพ่ออุตตมะได้ตั้งเจตจำนงที่จะบวชไม่สึกจนตลอดชีวิต 

      ด้วยความพากเพียรและใฝ่ใจในการศึกษาพระธรรม ในปี พ.ศ. 2474 หลวงพ่ออุตตมะสามารถสอบได้ นักธรรมชั้นเอก ณ สำนักเรียนวัดปราสาททอง อำเภอเย จังหวัดมะละแหม่ง ต่อมาในปี พ.ศ. 2484 สอบได้เปรียญธรรม 8 ประโยค ที่สำนักเรียนวัดสุขการี อำเภอสะเทิม จังหวัดสะเทิม ซึ่งเป็นชั้นสูงสุดของคณะสงฆ์ในประเทศพม่า ขณะนั้นบ้านเมืองกำลังเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 หลวงพ่อจึงเดินทางกลับวัดเกลาสะ และได้รับมอบหมายให้เป็นอาจารย์สอนภาษาบาลีแก่ภิกษุสามเณร 

      ต่อมาท่านก็ลาพระอุปัชฌาย์เดินทางไปศึกษาวิปัสนากรรมฐานที่วัดตองจอย จังหวัดมะละแหม่ง และวัดป่าเลไลย์ จังหวัดมัณฑะเลย์ จนมีความรู้ความสามารถในเรื่องวิปัสนากรรมฐานตลอดจนวิชาไสยศาสตร์และพุทธคมเป็นอย่างดี ปี พ.ศ. 2486 หลวงพ่อจึงเริ่มออกธุดงค์เพื่อหาประสบการณ์ 

    หลวงพ่ออุตตมะออกธุดงค์ไปตามที่ต่าง ๆ ในประเทศพม่า และเข้ามาประเทศไทยครั้งแรกทางจังหวัดเชียงใหม่ ต่อมาทราบข่าวว่าพระเกตุมาลา พระอุปัชฌาย์กำลังอาพาธ จึงรีบเดินทางกลับพม่า จนกระทั่งพระเกตุมาลามรณภาพ ท่านก็ได้เดินทางเข้ามาประเทศไทยอีกครั้งหนึ่ง โดยครั้งนี้ หลวงพ่อเดินทางเข้ามาทางตำบลปิล็อก อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ประมาณปี พ.ศ. 2492 

    และใน ปี พ.ศ. 2492 อันเป็นพรรษาที่ 16 ของพระมหาอุตตมะรัมโภ พายุไต้ฝุ่นพัดจากทะเลอันดามัน สร้างความเสียหายให้กับชาวบ้านอย่างใหญ่หลวง โดยเฉพาะบ้านโมกกะเนียง และเกลาสะ มีผู้เสียชีวิตมากกว่าร้อยคน บ้านเรือนเหลือเพียงไม่กี่หลังคาเรือน ชาวบ้านลำบากยากแค้นแสนสาหัส ข้าวของอาหารการกินขาดแคลนกันทั่วหน้า 

 
       นอกจากภัยธรรมชาติแล้ว ชาวบ้านยังต้องประสบเคราะห์กรรมจากปัญาความขัดแย้งในทางการเมืองอีกด้วย เนื่องจากการปะทะและต่อสู้ระหว่าง กองทหารของรัฐบาลพม่า กับกองกำลังติดอาวุธกู้ชาติ อีกทั้งกองกำลังกู้ชาติบางกลุ่มแปรตัวเองไปเป็นโจรปล้นสดมภ์ชาวบ้าน 
    ด้วยความเบื่อหน่ายเรื่องการรบราฆ่าฟันกัน ระหว่างชนเผ่า หลวงพ่ออุตตมะจึงตัดสินใจจากบ้านเกิด มุ่งหน้าสู่ดินแดนประเทศไทย เป้าหมายที่แท้จริงของท่านในเวลานั้น คือเขาพระวิหาร ปรากฏว่าเมื่อชาวบ้านรู้ข่าวต่างเสียใจ ไม่อยากให้ท่านจากไปพากันร้องไห้ระงมด้วยความอาลัย ซึ่งท่านได้ชี้แจงการออกเดินทางของท่านว่า “การไปของเราจะเป็นปรหิต เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น”     

         
 อยู่เลยจากตัวอำเภอสังขละบุรีไปประมาณ 6 กิโลเมตร เป็นวัดจำพรรษาของ “หลวงพ่ออุตตมะ” ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของประชาชนชาวไทย ชาวมอญ รวมทั้งชาวกระเหรี่ยงและพม่าที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้น ภายในวิหารที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำประดิษฐานพระพุทธรูปหินอ่อนอันงดงามชาวบ้านเรียกกันว่า หลวงพ่อขาว จากวัดวังก์วิเวการามแยกไปอีก 1 กิโลเมตร จะเป็นที่ตั้งของเจดีย์แบบพุทธคยามีลักษณะฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสบรรจุพระบรมสารีริกธาตุส่วนที่เป็นกระดูกนิ้วหัวแม่มือขวาขนาดเท่าเมล็ดข้าวสาร บริเวณใกล้เจดีย์มีร้านจำหน่ายสินค้าจากพม่าหลายร้านจำพวกผ้า แป้งพม่า เครื่องไม้
                   
             ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี มีการจัดงานคล้ายวันเกิดหลวงพ่ออุตตมะ ในงานมีกิจกรรมต่างๆ ประกอบด้วยพิธีกรรมทางศาสนา การแข่งขันชกมวยคาดเชือก การแสดงของชมรมวัฒนธรรมท้องถิ่นเช่น การรำแบบมอญ การรำตงของชาวกะเหรี่ยง และในงานประชาชนจะพร้อมใจกันแต่งกายตามแบบวัฒนธรรมของชาวไทยรามัญและจัดเตรียมสำรับอาหารทูนบนศีรษะไปถวายพระสงฆ์ที่วัด

อาหารทูนบนศีรษะไปถวายพระสงฆ์ที่วัด
กำเนิดวัดหลวงพ่ออุตตมะ

ในปี พ.ศ. 2499 หลวงพ่ออุตตมะ ร่วมกับชาวบ้านที่เป็นชาวกะเหรี่ยงและชาวมอญได้พร้อมใจกันสร้างศาลาวัดขึ้น และสร้างเสร็จในเดือน 6 ของปีนั้นเอง แต่เนื่องจากยังมิได้มีการขออนุญาตจากกรมการศาสนา วัดที่สร้างเสร็จจึงมีฐานะเป็นสำนักสงฆ์ แต่ชาวบ้านโดยทั่วไปเรียกว่า “วัดหลวงพ่ออุตตมะ” ตั้งอยู่บนเนินสูงในบริเวณที่เรียกว่า “สามประสบ” เพราะมีแม่น้ำ 3 สายไหลมาบรรจบกัน คือแม่น้ำซองกาเลีย แม่น้ำบีคลี่ และแม่น้ำรันตี 

ในปี พ.ศ. 2505 เมื่อได้รับอนุญาตจากกรมการศาสนาเป็นที่เรียบร้อย หลวงพ่ออุตตมะจึงได้ตั้งชื่อสำนักสงฆ์ตามชื่ออำเภอเก่า (อำเภอวังกะ) ว่า “วัดวังก์วิเวการาม” 

ในปี พ.ศ. 2513 หลวงพ่อเริ่มสร้างพระอุโบสถวัดวังก์วิเวการามโดยปั้นอิฐเอง 

ในปี พ.ศ. 2518 หลวงพ่อได้เริ่มสร้างเจดีย์จำลองแบบจากเจดีย์พุทธคยาที่ประเทศอินเดีย และสร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2529 

พระอุโบสถกลางน้ำ(หลังเก่า)
พระอุโบสถกลางน้ำ(หลังเก่า)
เจดีย์พุทธคยา

เที่ยวพระเจดีย์สามองค์ กาญจนบุรี

พระเจดีย์สามองค์

 

              มีเนื้อที่ 343,750 ไร่ ประกาศเป็นเขตอุทยานฯ เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2518 มีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ คือ

เขตสิ้นสุดชายแดนไทยด้านทิศตะวันตก ตั้งอยู่ที่ตำบลหนองลู ไปตามทางหลวงหมายเลข 323 โดยก่อนถึงตัวอำเภอสังขละบุรี 4 กิโลเมตร จะมีทางแยกด้านขวาไปด่านเจดีย์สามองค์ เป็นระยะทางประมาณ 18 กิโลเมตร เส้นทางลาดยางตลอดสาย พระเจดีย์สามองค์นี้เดิมเรียกว่า หินสามกอง เป็นที่สักการะของคนไทยโดยทั่วไปก่อนเดินทางออกจากเขตแดนไทยเข้าสู่เขตแดนพม่า ต่อมาในปี พ.ศ. 2472 พระศรีสุวรรณคีรี เจ้าเมืองสังขละบุรีได้เป็นผู้นำชาวบ้านก่อสร้างเจดีย์ขนาดเล็กสามองค์ดังที่เห็นในปัจจุบัน นอกจากนี้ด่านเจดีย์สามองค์ยังเป็นช่องทางเดินทัพที่สำคัญของไทยและพม่าในอดีต บริเวณด่านเจดีย์สามองค์ มีร้านขายสินค้าจากประเทศพม่า นักท่องเที่ยวสามารถข้ามชายแดนเข้าไปชมตลาดพญาตองซู ซึ่งเป็นตลาดชายแดนที่มีการจำหน่ายสินค้าของพม่า โดยนักท่องเที่ยวจะต้องเสียค่าผ่านด่าน (ฝั่งประเทศพม่า) ชาวไทย 25 บาท ชาวต่างประเทศ 10 เหรียญสหรัฐ รถยนต์ คันละ 50 บาท ตั้งแต่เวลา 06.00-18.00 น. สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ด่านตรวจคนเข้ามืองสังขละบุรี โทร. 0 3459 0105, 0 3459 5335




           สถานที่แห่งนี้มีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวกันเยอะมากเลยค่ะ ทั้งชาวไทย แล้วชาวต่่างชาติค่ะ

สะพานมอญ ไทย - มอญ




สะพานมอญ



              สะพานมอญ ซึ่งเป็นสะพานไม้ที่ยาวที่สุดในประเทศไทยมีความยาว 850 เมตร และเป็นสะพานไม้ที่ยาวเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากสะพานไม้อูเบ็งในประเทศพม่า เป็นสะพานที่ข้ามแม่น้ำซองกาเรีย ต.หนองลู อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี ถูกกระแสน้ำพัดพังเมื่อปีที่แล้ว หลังจากนั้นทหารและประชาชนในพื้นที่ช่วยกันซ่อมแซมสะพานจนเสร็จสมบูรณ์และเปิดใช้ได้อีกครั้งในวันนี้



            ประชาชนในพื้นที่และนักท่องเที่ยวนับพันคนเดินทางมาเที่ยวที่สะพานมอญ เพราะช่วงนี้บรรยากาศที่นี้กำลังดี หนาว เต็มไปด้วยหมอกสีขาว สวยมาก

บรรยากาศในช่วงตะวันจะตกดิน

สะพานมอญในช่วงตะวันกำลังจะตกดิน
         บรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคักเต็มไปด้วยชาวบ้านในพื้นที่และนักท่องเที่ยว ถ้าเกิดใครที่ยังไม่ได้ไปสัมผัสบรรยากาศแบบนี้ แนะนำเลยนะค่ะ ช่วงนี้อากาศกำลังดีมากเลยค่ะ


สะพานลูกบวบ

วันจันทร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

   "วันนพฤกษศาสตร์และวันข้าวใหม่หอมมะลิ"   






    จังหวัดสุรินทร์ โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ ได้จัดงานวันพฤกษศาสตร์และวันข้าวใหม่หอมมะลิ  ตั้งแต่วันที่ 26 ตุลาคม จนถึงวันที่ 2 พฤศจิกายน นี้ ณ บริเวณสวนเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯเฉลิมพระชนม์ 80 พรรษา เพื่อส่งเสริมเอกลักษณ์และเพิ่มมูลค่าผลผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์สุรินทร์ ให้เป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลาย สร้างรายได้ สร้างอาชีพให้แก่ประชาชนชาวสุรินทร์

    นอกจากนี้  ยังส่งเสริมให้ประชาชนหันมาสนใจดูแลอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น จึงได้จัดงานวันพฤกษศาสตร์และวันข้าวใหม่หอมมะลิขึ้นเป็นครั้งแรกในปีนี้ ด้วยการนำไม้ดอก ไม้ประดับนานาชนิด มาจัดแสดงให้ผู้ร่วมงานได้ชม ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ในการปลูกไม้ผล ไม้ดอก ไม้ประดับ เป็นอาชีพเสริมหรืออาชีพหลัก และเป็นการเพิ่มช่องทางการตลาดของผู้ผลิต ผู้ค้าพันธุ์ไม้ให้กับประชาชนผู้สนใจด้วย โดยได้เปิดให้เข้าเที่ยวชมงานได้ฟรี

    ซึ่งภายในงานนั้นก็จะมีสินค้า (O TOP) มากมายให้เราได้เลือกชมภายในงานที่มาจากแหล่งต่างๆของคนในจังหวัดสุรินทร์ที่ได้นำเอาสินค้ามาให้เราเลือกซื้อเลือกชมได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นโลชั่นที่ทำจากรังไหมซึ่งขายขวดละ 200 บาท ส่วนผสมมีกาวไหม หัวโลชั่น น้ำผึ่ง น้ำหอม
โลชั่นโปรตีนไหม
  อีกทั้งภายในงานไม่ได้มีเพียงแค่สินค้า (OTOP) เท่านั้นแต่ยังมีสิ่งสวยๆงามๆให้เราได้ชื่นชมอีกด้วยนั้นก็คือการจัดสวนดอกไหมต่างๆ และผู้ใดที่ชื่นชอบดอกกล้วยไม้ก็สามารถที่จะมาชมความงามของการจัดสวนกล้วยไม้ที่งดงามได้เลยค่ะ

วันจันทร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2557

ประเพณีแซนโฏนตา บูชาบรรพบุรุษ จังหวัดสุรินทร์

         
ประเพณีแซนโดนตา บูชาบรรพบุรุษ

                 จังหวัดสุรินทร์ขอเชิญร่วมงาน ประเพณีแซนโฎนตาบูชาบรรพบุรุษประจำปี 2557 ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 19 กันยายน 2557 ตั้งแต่เวลา 13.00 น. ณ บริเวณอนุสาวรีย์พระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง อ.เมือง จ.สุรินทร์ 

ประเพณีแซนโดนตา บูชาบรรพบุรุษ
ความเป็นมาและความสำคัญ

            เป็นงานประเพณีที่สำคัญของชาวจังหวัดสุรินทร์ โดยจะมีการถือปฏิบัติขึ้นทุกปี เป็นการแสดงถึงความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว และเป็นการแสดงออกถึงความรัก ความเอื้ออาทรต่อบุพการีผู้มีพระคุณ โดยถือกำหนดจัดขึ้นในแรม 14 เดือน 10 โดยชาวสุรินทร์เมื่อถึงวันจะพร้อมใจกันหยุดภาระกิจการงานและจะร่วมกันเซ่นไหว้ขึ้นที่บ้านแต่ละบ้าน โดยยึดบ้านที่อาวุโสที่สุดของครอบครัว
            พิธีแซนโฎนตา เซ่นไหว้บูชาบรรพบุรุษ ประกอบด้วยพิธีการทางศาสนา กราบพระ การบูชาพระรัตนตรัย จากนั้นเป็นการรำเซ่นไหว้ บูชาบรรพบุรุษ และพิธีแซนโฎนตา เซ่นไหว้ บรรพบุรุษ โดยชาวจังหวัดสุรินทร์ ที่นำเครื่องเซ่นไหว้ มาร่วมพิธี ก็จะจุด เทียน ธูป เซ่นไหว้ บรรพบุรุษ ด้วยการเทเหล้า น้ำหวาน น้ำดื่ม พร้อมเรียก ดวงวิญญาณ ของบรรพบุรุษ มารับอาหารที่ลูกหลาน ได้นำมาเซ่นไหว้ จากนั้นพระสงฆ์ ได้สวดมาติกา บังสุกุล เป็นอุทิศส่วนกุศล ให้ผู้ล่วงลับไปแล้ว ต่อจากนั้น พระสงฆ์ได้ให้พร แก่ญาติโยมที่มาร่วมพิธีแซนโฎนตา เซ่นไหว้บรรพบุรุษ เป็นอันเสร็จพิธี
      ชาวสุรินทร์เชื้อสายเขมร เชื่อว่า การประกอบประเพณีแซนโฎนตา เป็นการที่ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผีบรรพบุรุษ ปู่ย่า ตายาย พ่อแม่ ให้ได้รับผลบุญกุศลที่อุทิศไป เชื่อว่าทำให้ทุกข์เวทนาจากบวงกรรมมีความบรรเทาเบาบางลง จึงให้มีการจัดพิธีแซนโฎนตา ขึ้นและให้มีการสืบทอดต่อๆกันมา ลูกหลานต้องปฏิบัติสืบทอดต่อ ๆ กันมาถึงทุกวันนี้ ถ้าญาติหรือลูกหลานประกอบพิธีแซนโฎนตา และทำบุญอุทิศให้ เชื่อว่าญาติที่ล่วงลับไปแล้ว ก็จะอวยพรให้ญาติหรือลูกหลานมีความสุขความเจริญประกอบอาชีพประสบผลสำเร็จมี เงินมีทองใช้ แต่ถ้าไม่ทำพิธีแซนโฎนตา ญาติที่ล่วงลับไป ก็จะโกรธและสาปแช่งญาติหรือลูกหลานไม่ให้มีความสุขความเจริญประกอบอาชีพฝืด เคือง ไม่ราบรื่น ดังนั้นลูกหลานของชาวไทยเชื้อสายเขมรทุกรุ่นจึงต้องประกอบพิธีแซนโฎนตามา ทุกปีจนถึงปัจจุบันนี้

                                                    กิจกรรมภายในงานแซนโฏนตา

ขบวนแห่ของแต่ละหมู่บ้าน
เข้าร่วมเดินขบวนงานแซนโฏนตา

ขบวนแห่ของแต่ละหมู่บ้าน
ขบวนแห่ของแต่ละหมู่บ้าน
ขบวนแห่ของแต่ละหมู่บ้าน
พิธีรำเปิดงานแซนโฏนตา

พิธีรำเปิดงานแซนโฏนตา
เครื่องเซ่นไหว้โฏนตา
เครื่องเซ่นไหว้โฏนตา

ทำพีธีเซ่นไหว้บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว
ทั้งนี้เพื่อเป็นการอนุรักษ์และร่วมสืบสานวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของท้องถิ่น กระตุ้นเตือนให้ประชาชนได้เห็นความสำคัญของประเพณีแซนโฎนตา โดยจะเป็นการปลูกฝังให้ประชาชนและเยาวชนแสดงความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณและบรรพบุรุษ โดยในเวลา 13.00 น. จะมีการประกวดขบวนแห่แซนโฎนตาจากชุมชน คุ้มวัด และโรงเรียนต่างๆ ในจังหวัดสุรินทร์ ที่สื่อให้เห็นถึงเอกลักษณ์อันดีงามและประวัติความเป็นมาของประเพณีแซนโฎนตา โดยจะมีการประกวดขบวนแห่ที่มีความสวยงาม และกิจกรรมการจูนโฎนตา ที่นำเครื่องจูนจากขบวนแห่ของแต่ละชุมชน คุ้มวัด และโรงเรียน มาจูนต่อผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์และผู้อาวุโสของจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งจะมีริ้วขบวนต่างๆในเขตเทศบาลทั้ง 30 ชุมชน และ อบต. ใกล้เคียงต่างๆก็จะจัดริ้วขบวนมาร่วมด้วยอย่างยิ่งใหญ่ ซึ่งรูปแบบในปีนี้จะค่อนข้างยิ่งใหญ่กว่าทุกปี





วันจันทร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2557

เศรษฐกิจพอเพียงในครอบครัวของฉัน


เศรษฐกิจพอเพียงในครอบครัวของฉัน
เศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางอีกอย่างเพื่อใช้ในการทำมาหากินเลี้ยงตนเองและครอบครัวหรือแม้แต่คนรอบข้างได้  เป็นการดำเนินชีวิตที่ไม่เดือดร้อนใครโดยที่สามารถพึ่งตนเองได้  โดยหลักการใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของพ่อหลวง
ครอบครัวฉันเป็นครอบครัวที่ใหญ่พอสมควร  มีสมาชิกทั้งหมดก็  6  คน มี พ่อ แม่ พี่  น้อง แล้วก็ฉัน  แต่ละคนมีหน้าที่แตกต่างกันไปคนละหน้าที่  อาชีพหลักของครอบครัวฉันคือ  ทำนา – ทำไร่ พ่อฉันจะมีอาชีพอีกอย่างคือ รับจ้างทำก่อสร้าง รับเหมาทำบ้านกับพี่ชายของฉัน  ส่วนแม่ก็ต้องไปเลี้ยงวัวทุกวัน เพราะเราเลี้ยงวัวด้วย  และฉันกับน้องก็กำลังเรียนหนังสืออยู่ ครอบครัวของเราจะคิดถึงคำที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ท่านเคยตรัสไว้ว่า "อยู่อย่างพอเพียงกินอย่างพอเพียง  พอถึงฤดูกลาทำนา เราก็ทำนา  ปลูกข้าว  พอเสร็จฤดูกาลทำนาแล้ว  เราเลยคิดทำตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง  คือ  ปลูกมันสำปะลังในแปลงนาสัก  34 แปลง  ปลูก  ข้าวโพด  แตงโม  ถั่ว เป็นต้น  และทำแปลงสัก 45 แปลง เพื่อที่จะปลูกผักสวนครัว  เช่น ต้นหอม  ผักชี  ผักบุ้ง  คะน้า  ผักกาดขาว ผักกาดเขียว  พริก ข่า ตะไคร้ มะเขือ มะนาว  เป็นต้น  เราจะปลูกผักกินเองด้วยและแจกญาติพี่น้องเราด้วย  เพราะมันก็จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก  และไม่ต้องเสียเวลาเดินไปซื้อของที่ตลาดมาทำกับข้าว  และอีกอย่างผักของเราก็ปลอดสารผิด  ปลอดภัยต่อคนในครอบครัวและคนรอบข้างอีกด้วย  เพราะเราไม่ใช้ยาฆ่าแมลง  แต่เราจะนำปุ๋ยขี้วัวที่เราเลี้ยงอยู่มาใส่ในแปลงผักของเรา  ถ้าเกิดผักที่เหลือจากกินแล้ว   เราก็สามารถเก็บไปขายที่ตลาดได้  เราก็จะได้รายได้เพิ่มจากส่วนนี้  ความพอเพียงนี้ครอบครัวเราได้นำมาเป็นยึดเหนี่ยวจิตใจมาโดยตลอด  และยังได้ปฏิบัติตามรอยพระบาทของในหลวง  คือ  ประหยัด  อดออม  ซื่อสัตย์  สุจริต  รู้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน  การนำแนวทางพอเพียงไปประยุกต์ในชีวิตประจำวัน คือ 1. รู้จักใช้จ่ายของอย่างประยัดไม่ฟุ่มเฟือย ใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็น  2. ดำเนินชีวิตอยู่บนความพอดีแก่ฐานะตนเอง ไม่มากหรือน้อยไป  3. รู้จักพึ่งพาตนเองได้มากที่สุด  4. รู้จักรวบรวมกลุ่มช่วยเหลือกัน5. ปฏิบัติตนตามแนววิถีไทย  ไม่หลงใหลในวัตถุ
เราทุกคนควรยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำริของหระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  เพื่อชีวิตที่เป็นอยู่ที่ดีขึ้นดังคำกลอนนี้
เศรษฐกิจพอเพียงสร้างชีวิต                                            เศรษฐกิจพอเพียงสร้างนิสัย
เศรษฐกิจพอเพียงสร้างกำไร                                           ชีวิตเราสดใสเพราะพอเพียง
ความพอเพียงหลักเศรษฐกิจ                                            พลิกวิกฤติเป็นโอกาสทุกชีพหนอ
หลักปรัชญาชีวิตที่เพียงพอ                                              ช่วยถักทอชีวิตใหม่ดีกว่าเดิม

วันอังคารที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2557

งานประเพณีแซนโฎนตา จังหวัดสุรินทร์

งานประเพณีแซนโฎนตา จังหวัดสุรินทร์


พิธีแซนโฏนตาของเช้าสุรินทร์

 จังหวัดสุรินทร์ โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ หน่วยงานภาครัฐและเอกชนในจังหวัดสุรินทร์ และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เตรียมจัดงาน "ประเพณีแซนโฎนตา บูชาบรรพบุรุษ” ประจำปี 2556 ในวันที่ 1 ตุลาคม 2556 ณ บริเวณอนุสาวรีย์พระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง อ.เมืองสุรินทร์ เพื่อสืบสานวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นที่มีมาแต่โบราณ และส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดสุรินทร์ โดยกิจกรรมในงานประกอบด้วย การจัดขบวนการแสดงรำพื้นบ้าน ขบวนแห่เครื่องจูนโฎนตา ที่ยิ่งใหญ่และงดงาม ภายใต้ชื่อ มหัศจรรย์เครื่องเซ่นไหว้ประเพณีแซนโฎนตาที่มากที่สุดในโลก ประกอบด้วย สำรับอาหารคาว หวานของสดและผลไม้ สำหรับไหว้ผู้อาวุโสในครอบครัว ขบวนแห่เครื่องแซนโฎนตา จากชุมชนและคุ้มวัดต่างๆ ประกอบด้วยสำรับอาหารคาวหวาน ขนม ข้าวต้มมัด กระยาสารท ฯลฯ สำหรับเซ่นไหว้บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว
       สำหรับประเพณีแซนโฎนตา  (แซน-โดน-ตา  เป็นภาษาเขมร แปลว่า เซ่นไหว้บรรพบุรุษ) หรือวันสารทเขมร คล้ายวันสารทจีนนั่นเอง เป็นประเพณีที่ชาวไทยเชื้อสายเขมร ได้ถือปฏิบัติสืบทอดกันมา เพื่อทำบุญอุทิศส่วนกุศลแด่บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว เป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีแก่ผู้ใหญ่หรือผู้มีพระคุณ โดยจะประกอบพิธีแซนโฎนตา ในวันแรม 14 ค่ำ เดือน 10 ของทุกปี ซึ่งในปีนี้ตรงกับวันที่ 19 กันยายน 2557 จังหวัดสุรินทร์ จึงได้จัดงานขึ้นก่อนวันจริง 2 วัน เพื่อประชาชนจะได้อยู่ร่วมประกอบพิธีที่บ้านของตนเองในช่วงวันสำคัญดังกล่าว

วันจันทร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2557

อุทยานพนมสวาย


อุทยานพนมสวาย

         อยู่ห่างจาก ตัวจังหวัดประมาณ 22 กิโลเมตร ถ.สุรินทร์-ปราสาท ตั้งอยู่ที่ตำบล นาบัว อำเภอเมืองสุรินทร์ เป็นภูเขาเตี้ย ๆ มียอกเขา 3 ยอดที่เป็น ที่ประดิษฐาน พระพุทธสุรินทรมงคล ศาลาอัฏฐะมมุข พระพุทธบาทจำลอง สถูป บรรจุอัฐิหลวงปู่ดุลย์ ซึ่งชาวสุรินทร์ เคารพ นับถือ

     วนอุทยานแห่งชาติพนมสวาย หรือเขาสวาย ตั้งอยู่ในพื้นที่ 2 ตำบลคือ ตำบลนาบัว ตำบลสวาย มีเนื้อที่ 1,975 ไร่ ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าเขาสวายท้องที่ตำบลนาบัว อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ "พนมสวาย" เป็นคำภาษาพื้นที่เมืองสุรินทร์ "พนม" แปลว่าภูเขา "สวาย" แปลว่า "มะม่วง" ในหมู่พนมสวายประกอบด้วภูเขา 3 ลูกติดต่อกันซึ่งมีมีชื่อพื้นเมืองเรียกแตกต่างกันไป ได้แก่ "พนมกรอล" แปลว่า "เขาคอก" มีความสูงประมาณ 150 เมตร "พนมเปร๊า แปลว่า "เขาชาย" มีความสูงประมาณ 220 เมตร "พนมสรัย" แปลว่า "เขาหญิง" มีความสูงประมาณ 210 เมตร รวมกันทั้ง 3 ลูก มีชื่อว่า เขาพนมสวาย ความจริงคือ พนมสวายคือภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว จึงมีลานหินกระจายทั่วไป เนื่องจากวนอุทยานพนมสวายได้สำรวจทั่วบริเวณวนอุทยานพบว่า มีต้นกล้วยไม้ป่าอยู่เป็นจำนวนมาก ทางวนอุทยานได้จัดต้นกล้วยไม้ป่า มาติดไว้ตามต้นไม้ต่างๆ ริมถนน ริมลานจอดรถบ้าง วนอุทยานพนมสวาย ถือว่าเป็นวนอุทยานเฉลิมพระเกียรติแห่งหนึ่งในประเทศไทย และเป็นสถานที่แสวงบุญของชาวไทยที่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา เขตอุทยานพนมสวาย เขาพนมสวาย เป็นภูเขาที่โผล่ขึ้นมาโดดๆบนที่ราบทำนาของจังหวัดสุรินทร์ ห่างจากเทือกเขาพนมดงรักประมาณ 50 กิโลเมตร ห่างจากเขาพนมรุ้งประมาณ ๕๐ กิโลเมตร (สามารถมองเห็นพนมรุ้ง และเขากระโดงได้ที่ด้านหลังพระพุทธสุรินทร์มงคล จนเห็นเทือกเขาพนมดงรัก และ เขาพระวิหาร) และอยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดสุรินทร์ไปทางตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ ๒๒ กิโลเมตร

          ในอดีตบรรพบุรุษชาวสุรินทร์ถือว่าเขาพนมสวายเป็น สถานที่แสวงบุญ โดยการเดินทางไปขึ้นยอดเขาในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ซึ่งเป็นวันหยุดงานตามประเพณีของชาวจังหวัดสุรินทร์มาแต่โบราณกาล และจวบจนปัจจุบันชาวสุรินทร์ยังถือปฏิบัติเรื่อยมา ผู้ที่มาเยือนเขาพนมสวาย จะได้สักการะ 9 สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง เพื่อความเป็นสิริมงคล คือ พระใหญ่หรือพระพุทธสุรินทรมงคล รอยพระพุทธบาทจำลอง อัฐิหลวงปู่ดุล อตุโล พระพุทธรูปองค์ดำ หลวงปู่สวน ปราสาทหินพนมสวาย ศาลเจ้าแม่กวนอิม เต่าศักดิ์สิทธิ์ และสระน้ำศักดิ์สิทธิ์